ยอดขายลด ยอดผลิตลดลง ต้องลดต้นทุน ทำอย่างไร ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อเกิดสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในประเทศ จะมีส่งผลต่อภาคธุรกิจ การผลิตและโรงงานอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากภาคการผลิตเป็นเครื่องจักรสำคัญที่จะซัพพลายสินค้าและบริการลงไปให้กับผู้บริโภค แต่เมื่อผู้บริโภคมีอัตราการบริโภคน้อยลง หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ก็อาจเกิดผลกระทบกับผู้ผลิตเดิมได้ อาทิเช่น ธุรกิจยานยนต์ จากเครื่องยนต์สันดาปมาเป็นเครื่องยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องปรับตัวและพร้อมเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน ระบบและแผนงานอยู่ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสภาวะในเวลานั้นเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงานการผลิตใหม่ การปรับลดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต การปรับโครงการผลิต การทำแผนงานซ่อมบำรุง การลดกระบวนการที่ไม่จำเป็น หรือแม้กระทั่งการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ซึ่งโดยหลักแล้วการผลิตสินค้าและบริการจะมีต้นทุนอยู่ 3 ส่วน นั่นคือ วัตถุดิบ แรงงาน และพลังงาน ซึ่งการลดต้นทุนทางพลังงานโดยเฉพาะ “ ค่าไฟ “ ถือเป็นการลดต้นทุนสำคัญในการผลิตลงอย่างได้ผลและยั่งยืน โดยในบางธุรกิจนั้นค่าไฟฟ้าถือเป็นต้นทุนหลักที่ใช้ดำเนินธุรกิจอีกด้วย ดังนั้นการเฟ้นหาและคัดสรรมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าจึงมีบทบาทสำคัญและเป็นหนึ่งในหลายหัวข้อในการเร่งดำเนินการสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองการลดต้นทุนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งการตื่นตัวของภาคอุตสาหกรรมและข้อบังคับเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ก็เป็นตัวแปรสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องทำการประหยัดพลังงานไฟฟ้าพร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ด้วย
ดังนั้นในระยะ 5 – 10 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นการตื่นตัวในการใช้พลังงานสะอาดเข้ามาทดแทนหรือช่วยในการลดการใช้พลังงานหลักจากการใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์การผลิตที่อาจมีแนวโน้มลดลงและเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต โดยความต้องการทางเทคโนโลยีในการช่วยประหยัดไฟฟ้ามีความต้องการสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2566 – 2567 โดยหนึ่งในมาตรการและอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีการค้นหาและใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั่นคือระบบผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ นั่นเอง โดยจะเห็นว่าระบบโซล่าเซลล์นั้น มีการติดตั้งกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือแม้แต่ในภาคครัวเรือน โดยสามารถทำการประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ราว 30 – 50%* ของการใช้พลังงานก่อนการติดตั้ง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถประหยัดพลังงานจากการผลิตลงไปได้มหาศาล
แต่ถึงแม้ว่าระบบ “ โซล่าเซลล์ “ จะเป็นระบบที่สามารถลดต้นทุนได้มาก นิยมใช้กันแพร่หลาย แต่ก็มีขีดจำกัดอยู่หลายประการที่ผู้ประกอบการต้องทำการศึกษาก่อนการลงทุน เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพสูงสุดและตรงจุดประสงค์ในการดำเนินการ นั่นก็เพราะว่าระบบโซล่าเซลล์เป็นระบบที่ต้องอาศัยการลงทุนสูง มีระยะการคืนทุน (Return of investment) ที่ไม่แน่นอน และต้องวิเคราะห์องค์ประกอบอีกหลายประการ เช่น ทิศทางของแสงแดด , พื้นที่การติดตั้ง , โครงสร้างหลังคา , การบำรุงรักษา , ลักษณะการใช้งานไฟฟ้าของโหลดภายในโรงงานและอื่น ๆ เพื่อให้การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในโรงงานอุตสาหกรรม มีความคุ้มค่าและคืนทุนเร็วที่สุดหลังจากติดตั้ง
แต่อุปสรรคที่สำคัญในการใช้ไฟฟ้าเพื่อการผลิตนั้น ยังมีอีกหลายประการที่ระบบโซล่าเซลล์ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการลดต้นทุนการใช้งานไฟฟ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบในปัจจุบัน นั่นก็คือ “ เวลา “ นั่นเป็นเพราะว่าการผลิตไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์นั้นสามารถผลิตได้เต็มประสิทธิภาพในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 5-6 ชม.ต่อวันเท่านั้น ซึ่งถึงแม้จะมีการออกแบบระบบกักเก็บพลังงานสำรองออกมาช่วย แต่ก็ยังมีราคาสูงไม่คุ้มต่อการลงทุน แต่ในภาคการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดกลางใหญ่และใหญ่นั้น ยังคงมีความต้องการการใช้งานไฟฟ้าทั้งภาคกลางวันและกลางคืนอยู่ตลอดเวลา
และโดยส่วนใหญ่ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ จะเปลี่ยนเป็นหม้อแปลง TOU หรือ Time of use Triff ซึ่งจะเป็นหม้อแปลงที่มีอัตราการคิดค่าไฟฟ้าในภาคกลางคืนและวันหยุดในเรทต่ำกว่าในภาคกลางวันเป็นอย่างมากถ้าเทียบกับระบบหม้อแปลงเดิมที่คิดค่าไฟฟ้าเป็นอัตราก้าวหน้า ทำให้หลายโรงงานปรับแผนการผลิตไปผลิตตอนกลางคืนเพิ่มมากขึ้นและลดกำลังการผลิตในภาคกลางวันลง ในสภาวะการณ์ที่ยอดขายและการผลิตลดลง นั่นยิ่งทำให้การใช้งานระบบโซล่าเซลล์ลดประสิทธิภาพลงไปอีก เนื่องจากระบบดังกล่าวใช้งานได้เฉพาะภาคกลางวันเท่านั้น ในภาวะการหดตัวของยอดขายและยอดผลิตที่ลดลง
แต่ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการลดค่าไฟ และเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบโซล่าเซลล์ ชดเชยข้อจำกัดของระบบโซล่าเซลล์ ให้สามารถตอบสนองความต้องการในการลดต้นทุนการผลิตในสภาวะที่มีคำสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมลดลง นั่นคือ “ ระบบปรับปรุงประสิทธิภาพการไหลของกระแสไฟฟ้า “ หรือ ECO ซึ่งใช้หลักการทำงานของซุปเปอร์คอนดัคเตอร์ – Superconductor ในการลดความต้านทานในระบบไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อเพิ่มการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลได้มากขึ้น ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามีอัตราการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าลดน้อยลงจากการเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานไฟฟ้าตลอด 24 ชม.ที่มีการใช้งานไฟฟ้าราว 8-15% ของภาพรวมกิจการ อีกทั้งการติดตั้งระบบ ECO จะช่วยทำให้ระบบโซล่าเซลล์ มีความสามารถในการเพิ่มอัตราการผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราการสูญเสียกำลังไฟฟ้าลดลงเนื่องจากค่าความต้านทานรวมของระบบ หรือ Impedance ถูกทำให้ลดลงด้วยระบบซุปเปอร์คอนดัคเตอร์นั่นเอง
ซึ่งหากผู้ประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม ผสมผสานเทคโนโลยีทั้ง 2 แบบนี้เข้าไว้ด้วยกัน ก็จะช่วยให้การลดต้นทุน “ ค่าไฟ “ ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ และตอบสนองความต้องการในการผลิตที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับยอดการผลิตที่อาจจะลดลง หรือเพิ่มขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกสภาวะ และหากต้นทุนทางไฟฟ้ามีการลดลงแล้ว นอกจากจะทำให้องค์กรหรือธุรกิจนั้นสามารถลดต้นทุนสินค้าและบริการได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการต้นทุนและเพิ่มผลกำไรในยามคำสั่งซื้อกลับเข้ามาเป็นปกติได้อีกด้วย
เห็นความสำคัญของการลดต้นทุน การปรับตัว และการเพิ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเตรียมความพร้อมกับความผันผวนของเศรษฐกิจกันแล้วก็อย่าลืมพิจารณามาตรการต่าง ๆ ในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยนะครับ เพราะการลดการใช้พลังงานนั้นนอกจากจะช่วยให้เรามีสภาพคล่องที่ดีขึ้นแล้วยังช่วยทำให้โลกของเรามีมลพิษน้อยลงด้วยนะครับ