สินค้าอื่นๆ

Capacitor Bank

อุปกรณ์เรียงประจุไฟฟ้าด้วยคาร์ปาซิเตอร์
  • Rated power from 2.5Kvar up to 40Kvar;
  • Rated voltage 230V up to 800V;
  • Rated frequency 50/60 Hz;
  • 130,000 hours service life design (temperature Class -25/C)
  • 100,000 hours service life design (temperature Class -25/D)
  • Self-healing design;
  • Over pressure safety device which prevents the capacitor from explosion at the end of its service life;
  • Dry technology as the capacitor is filled with resin, there is no risk of leaking oil or gas;
  • Touch proof terminals for board design (IP20 protection degree)

       ตัวเก็บประจุ “ Capacitor Bank “ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มวิศวกรโรงงานและเจ้าหน้าที่อนุรักษ์พลังงาน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีความสำคัญและบทบาทในการ เก็บและคายประจุ เพื่อปรับปรุงค่า Reactive Power ที่ใช้ในโหลดประเภทตัวเหนี่ยวนำหรือ Inductive Load

การปรับปรุงค่า Power Factor หรือค่า PF เป็นหัวข้อที่โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่ง โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นโรงงานควบคุมต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามมาตรการของการไฟฟ้า ซึ่งค่า Power Factor นี้เองที่จะเป็นตัวแปรหลักที่จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีค่าใช้จ่ายทางไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากการปรับปรุง เพราะโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารขนาดใหญ่ต้องมีกิจกรรมในการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีวิธีการหลากหลายในการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังนี้ อย่างเช่น การปรับปรุงกระแสไฟฟ้าด้วยตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด การติดตั้งตัวเก็บประจุหรือ Capacitor Bank นั่นเอง

การที่จะปรับปรุงค่า Power Factor จำเป็นที่ผู้ดำเนินการ อย่างวิศวกรจำเป็นต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการปรับปรุง ถึงแม้ว่าการเปลี่ยน Capacitor Bank จะไม่ใช่เรื่องที่ยากและซับซ้อน แต่หากการปรับปรุงกระทำโดยความไม่เข้าใจก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาข้างเคียงตามมาได้ ทำให้เกิดผลเสียกับระบบภาพรวม อาทิ การเกิดฮาร์โมนิกส์ ส่งผลให้ค่า Power Factor มีค่าต่ำลง หรือแม้แต่การเกิดเรโซแนนท์ในระบบได้

ค่า Power Factorในระบบไฟฟ้าแสดงดังภาพเพื่อประกอบความเข้าใจ

โดยการเปรียบเทียบค่ากำลังไฟฟ้าทั้งหมดเหมือนกับการรินเบียร์ลงในแก้ว โดยปริมาณเบียร์ทั้งหมดแทนค่าด้วย Apparent Power (Kva) น้ำเบียร์ที่สามารถดื่มได้จริงคือ True Power (Kw) และตัวฟองเบียร์คือ Reactive Power (Kvar) คือกำลังไฟฟ้าที่ต้องการสร้างสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดยจากรูปจะเห็นค่าในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเรารินเบียร์ใส่แก้ว ก็จะได้ทั้งน้ำเบียร์และฟองเสมอ เปรียบเสมือนกำลังไฟฟ้าที่หม้อแปลงส่งผ่านมาให้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารหรือโรงงานนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การจ่ายไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ปั๊มน้ำ โดยการทำงานจริง มอเตอร์ต้องการพลังงานทั้ง Active power และ Reactive Power และผลรวมของสองกำลังนี้คือ Apparent Power เนื่องจากมอเตอร์มีขดลวดอยู่ภายในและขดลวดของมอเตอร์จะเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อใช้หมุนเพลา โดยสนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำผ่านโรเตอร์ (Rotor) ของมอเตอร์เพื่อไปขับปั๊มน้ำหรือเครื่องจักร โดยพลังงานที่เกิดขึ้นจริงเรียกว่า Apparent Power ซึ่งเป็นกำลังงานที่ใช้สำหรับงานทั้งหมด ส่วนกำลังไฟฟ้าที่มาขับมอเตอร์จะเป็น Active Power ส่วน Reactive Power จะย้อนกลับไปที่หม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ดังนั้นหม้อแปลงไฟฟ้าจะต้องจ่ายพลังงานทั้ง Active Power และ Reactive Power มาให้กับมอเตอร์ และหากโหลดที่มีอยุ่ในโรงงานอุตสาหกรรมมีคุณภาพไม่ดี ก็จะทำให้หม้อแปลงต้องจ่าย Reactive Power เข้ามาชดเชย ทำให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าปรับทางไฟฟ้าที่เกิดจากการชดเชยนี้ให้กับการไฟฟ้าในรูปแบบของค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์นั่นเอง

โดยทั่วไปแล้วค่า Power Factor ควรจะอยู่ใกล้ค่า 1 ให้มากที่สุด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 0.85 เพื่อลดค่าปรับทางไฟฟ้าอันจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าในทางธุรกิจ และเป็นตัวชี้วัดคุณภาพโหลดและไฟฟ้าภายในสถานประกอบการนั้น ๆ

แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ?

       การปรับปรุงค่า Power Factor นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่นิยมใช้ โดยสามารถทำได้โดยการใช้ตัวเก็บประจุแบบคงที่ หรือ Static Capacitor ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสูงขนาดใหญ่ที่ใช้กำลังไฟฟ้ามากจะนิยมใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว ซึ่งโหลดที่ใช้งานส่วนใหญ่ก็จะเป็นตัวเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า เช่น ระบบปั๊มน้ำ ระบบแอร์ มอเตอร์ โดยจะทำให้มุมเฟสของกระแสไฟฟ้าตามหลักมุมเฟสของแรงดันไฟฟ้า (lagging) จึงทำให้ค่าตัวประกอบกำลังลดลง การที่เราติดตั้งอุปกรณ์คาร์ปาซิเตอร์ขนานเข้าไปในระบบไฟฟ้า จะทำให้เกิดการปรับปรุงกำลังไฟฟ้าที่ดีขึ้นและจะทำให้มุมเฟสของกระแสไฟฟ้ามีค่านำหน้ามุมเฟสของแรงดันไฟฟ้า หรือที่เรารู้จักในชื่อของกระแสล้าหลัง (Leading) โดยวิธีใช้ Capacitor Bank  เป็นที่นิยมที่สุด แต่ก็ควรพิจารณาข้อมูลดังตาราง

แล้ว Capacitor Bank มีหน้าที่ทำอะไร ?

       อุปกรณ์ตัวนี้ก็คือ “ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า “ หน้าที่สำคัญก็คือการเก็บและคายประจุให้กับระบบไฟฟ้า ซึ่งตัวเก็บประจุจะมีอยู่ในวงจรไฟฟ้าที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์และในระบบไฟฟ้า ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีขนาดของตัวเก็บประจุใหญ่กว่าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และจะทำหน้าจ่ายพลังงานภาค Reactive Power ออกมาเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไป โดยมีหน่วยเป็น VAR ถ้าตัวเก็บประจุมีลักษณะแบบเดี่ยว เราจะเรียกว่า Capacitor แต่ถ้าอยู่รวมกันเป็นชุดเราจะเรียกอุปกรณ์นี้กว่า Capacitor Bank

ปัญหาสำคัญของต้นทุนในการซ่อมบำรุง Capacitor Bank

จริงอยู่ที่ Capacitor Bank มีอายุตามสเปคสินค้ามากถึง 8-10 ปีโดยทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่ในโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ต้องเปลี่ยน Capacitor Bank กันทุก 1-2 ปี เป็นประจำ สร้างภาระต้นทุนและเพิ่มงานซ่อมบำรุงให้กับบุคลากรเป็นอย่างมาก อันเกิดมาจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่สุดก็คือการเกิด Harmonic ที่มากเกินไปทำให้เกิดความเสียหายของอุปกรณ์ , การใช้โหลดที่มีคุณภาพต่ำ และการที่ไม่มีภาคคอนโทรลในการควบคุม Step การทำงานของ Capacitor Bank โดยภาคคอนโทรลมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการควบคุมการทำงานของระบบตัวเก็บประจุ หากติดตั้งร่วมกับ Capacitor Bank ก็จะสามารถดูสถานะต่าง ๆ เช่น การทำงาน , อายุไข หรือแม้แต่หน่วยทางไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อนำไปวางแผนในการซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระงาน และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อีกมาก

       อย่างไรก็ตามการปรับปรุงค่า Power Factor ควรทำโดยผู้มีประสบการณ์และผู้มีความรู้ เพราะหากทำไม่ถูกต้องจะเกิดปัญหาตามมามากในเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะ Harmonic ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการ ปรับปรุงกระแสไฟฟ้า

หากคุณสนใจสินค้าและผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดค่าไฟฟ้า สามารถเข้าไป ดูข้อมูลและข่าวสารที่จำเป็นต่อการประหยัดพลังงาน ได้ที่หน้าสินค้าของเราหรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สามารถติดต่อสอบถามมาได้ทางแชทขวามือ หรือส่งข้อมูลมายัง painsthai@gmail.com เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญได้ตลอดเวลา

Capacitor Bank

อุปกรณ์เรียงประจุไฟฟ้าด้วยคาร์ปาซิเตอร์
  • Rated power from 2.5Kvar up to 40Kvar;
  • Rated voltage 230V up to 800V;
  • Rated frequency 50/60 Hz;
  • 130,000 hours service life design (temperature Class -25/C)
  • 100,000 hours service life design (temperature Class -25/D)
  • Self-healing design;
  • Over pressure safety device which prevents the capacitor from explosion at the end of its service life;
  • Dry technology as the capacitor is filled with resin, there is no risk of leaking oil or gas;
  • Touch proof terminals for board design (IP20 protection degree)

       ตัวเก็บประจุ “ Capacitor Bank “ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มวิศวกรโรงงานและเจ้าหน้าที่อนุรักษ์พลังงาน โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีความสำคัญและบทบาทในการ เก็บและคายประจุ เพื่อปรับปรุงค่า Reactive Power ที่ใช้ในโหลดประเภทตัวเหนี่ยวนำหรือ Inductive Load

การปรับปรุงค่า Power Factor หรือค่า PF เป็นหัวข้อที่โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่ง โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นโรงงานควบคุมต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามมาตรการของการไฟฟ้า ซึ่งค่า Power Factor นี้เองที่จะเป็นตัวแปรหลักที่จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมนั้นมีค่าใช้จ่ายทางไฟฟ้าเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากการปรับปรุง เพราะโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารขนาดใหญ่ต้องมีกิจกรรมในการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมีวิธีการหลากหลายในการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังนี้ อย่างเช่น การปรับปรุงกระแสไฟฟ้าด้วยตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด การติดตั้งตัวเก็บประจุหรือ Capacitor Bank นั่นเอง

การที่จะปรับปรุงค่า Power Factor จำเป็นที่ผู้ดำเนินการ อย่างวิศวกรจำเป็นต้องมีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการปรับปรุง ถึงแม้ว่าการเปลี่ยน Capacitor Bank จะไม่ใช่เรื่องที่ยากและซับซ้อน แต่หากการปรับปรุงกระทำโดยความไม่เข้าใจก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาข้างเคียงตามมาได้ ทำให้เกิดผลเสียกับระบบภาพรวม อาทิ การเกิดฮาร์โมนิกส์ ส่งผลให้ค่า Power Factor มีค่าต่ำลง หรือแม้แต่การเกิดเรโซแนนท์ในระบบได้

ค่า Power Factorในระบบไฟฟ้าแสดงดังภาพเพื่อประกอบความเข้าใจ

โดยการเปรียบเทียบค่ากำลังไฟฟ้าทั้งหมดเหมือนกับการรินเบียร์ลงในแก้ว โดยปริมาณเบียร์ทั้งหมดแทนค่าด้วย Apparent Power (Kva) น้ำเบียร์ที่สามารถดื่มได้จริงคือ True Power (Kw) และตัวฟองเบียร์คือ Reactive Power (Kvar) คือกำลังไฟฟ้าที่ต้องการสร้างสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำไฟฟ้า โดยจากรูปจะเห็นค่าในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเรารินเบียร์ใส่แก้ว ก็จะได้ทั้งน้ำเบียร์และฟองเสมอ เปรียบเสมือนกำลังไฟฟ้าที่หม้อแปลงส่งผ่านมาให้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารหรือโรงงานนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การจ่ายไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ปั๊มน้ำ โดยการทำงานจริง มอเตอร์ต้องการพลังงานทั้ง Active power และ Reactive Power และผลรวมของสองกำลังนี้คือ Apparent Power เนื่องจากมอเตอร์มีขดลวดอยู่ภายในและขดลวดของมอเตอร์จะเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อใช้หมุนเพลา โดยสนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำผ่านโรเตอร์ (Rotor) ของมอเตอร์เพื่อไปขับปั๊มน้ำหรือเครื่องจักร โดยพลังงานที่เกิดขึ้นจริงเรียกว่า Apparent Power ซึ่งเป็นกำลังงานที่ใช้สำหรับงานทั้งหมด ส่วนกำลังไฟฟ้าที่มาขับมอเตอร์จะเป็น Active Power ส่วน Reactive Power จะย้อนกลับไปที่หม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ดังนั้นหม้อแปลงไฟฟ้าจะต้องจ่ายพลังงานทั้ง Active Power และ Reactive Power มาให้กับมอเตอร์ และหากโหลดที่มีอยุ่ในโรงงานอุตสาหกรรมมีคุณภาพไม่ดี ก็จะทำให้หม้อแปลงต้องจ่าย Reactive Power เข้ามาชดเชย ทำให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าปรับทางไฟฟ้าที่เกิดจากการชดเชยนี้ให้กับการไฟฟ้าในรูปแบบของค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์นั่นเอง

โดยทั่วไปแล้วค่า Power Factor ควรจะอยู่ใกล้ค่า 1 ให้มากที่สุด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 0.85 เพื่อลดค่าปรับทางไฟฟ้าอันจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่าในทางธุรกิจ และเป็นตัวชี้วัดคุณภาพโหลดและไฟฟ้าภายในสถานประกอบการนั้น ๆ

แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ?

       การปรับปรุงค่า Power Factor นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่นิยมใช้ โดยสามารถทำได้โดยการใช้ตัวเก็บประจุแบบคงที่ หรือ Static Capacitor ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสูงขนาดใหญ่ที่ใช้กำลังไฟฟ้ามากจะนิยมใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว ซึ่งโหลดที่ใช้งานส่วนใหญ่ก็จะเป็นตัวเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า เช่น ระบบปั๊มน้ำ ระบบแอร์ มอเตอร์ โดยจะทำให้มุมเฟสของกระแสไฟฟ้าตามหลักมุมเฟสของแรงดันไฟฟ้า (lagging) จึงทำให้ค่าตัวประกอบกำลังลดลง การที่เราติดตั้งอุปกรณ์คาร์ปาซิเตอร์ขนานเข้าไปในระบบไฟฟ้า จะทำให้เกิดการปรับปรุงกำลังไฟฟ้าที่ดีขึ้นและจะทำให้มุมเฟสของกระแสไฟฟ้ามีค่านำหน้ามุมเฟสของแรงดันไฟฟ้า หรือที่เรารู้จักในชื่อของกระแสล้าหลัง (Leading) โดยวิธีใช้ Capacitor Bank  เป็นที่นิยมที่สุด แต่ก็ควรพิจารณาข้อมูลดังตาราง

แล้ว Capacitor Bank มีหน้าที่ทำอะไร ?

       อุปกรณ์ตัวนี้ก็คือ “ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า “ หน้าที่สำคัญก็คือการเก็บและคายประจุให้กับระบบไฟฟ้า ซึ่งตัวเก็บประจุจะมีอยู่ในวงจรไฟฟ้าที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์และในระบบไฟฟ้า ซึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีขนาดของตัวเก็บประจุใหญ่กว่าในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และจะทำหน้าจ่ายพลังงานภาค Reactive Power ออกมาเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไป โดยมีหน่วยเป็น VAR ถ้าตัวเก็บประจุมีลักษณะแบบเดี่ยว เราจะเรียกว่า Capacitor แต่ถ้าอยู่รวมกันเป็นชุดเราจะเรียกอุปกรณ์นี้กว่า Capacitor Bank

ปัญหาสำคัญของต้นทุนในการซ่อมบำรุง Capacitor Bank

จริงอยู่ที่ Capacitor Bank มีอายุตามสเปคสินค้ามากถึง 8-10 ปีโดยทั่วไป แต่โดยส่วนใหญ่ในโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ต้องเปลี่ยน Capacitor Bank กันทุก 1-2 ปี เป็นประจำ สร้างภาระต้นทุนและเพิ่มงานซ่อมบำรุงให้กับบุคลากรเป็นอย่างมาก อันเกิดมาจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่สุดก็คือการเกิด Harmonic ที่มากเกินไปทำให้เกิดความเสียหายของอุปกรณ์ , การใช้โหลดที่มีคุณภาพต่ำ และการที่ไม่มีภาคคอนโทรลในการควบคุม Step การทำงานของ Capacitor Bank โดยภาคคอนโทรลมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการควบคุมการทำงานของระบบตัวเก็บประจุ หากติดตั้งร่วมกับ Capacitor Bank ก็จะสามารถดูสถานะต่าง ๆ เช่น การทำงาน , อายุไข หรือแม้แต่หน่วยทางไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อนำไปวางแผนในการซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาระงาน และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อีกมาก

       อย่างไรก็ตามการปรับปรุงค่า Power Factor ควรทำโดยผู้มีประสบการณ์และผู้มีความรู้ เพราะหากทำไม่ถูกต้องจะเกิดปัญหาตามมามากในเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโดยเฉพาะ Harmonic ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการ ปรับปรุงกระแสไฟฟ้า

หากคุณสนใจสินค้าและผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดค่าไฟฟ้า สามารถเข้าไป ดูข้อมูลและข่าวสารที่จำเป็นต่อการประหยัดพลังงาน ได้ที่หน้าสินค้าของเราหรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้าและบริการ สามารถติดต่อสอบถามมาได้ทางแชทขวามือ หรือส่งข้อมูลมายัง painsthai@gmail.com เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญได้ตลอดเวลา
สินค้าอื่นๆ