สินค้าอื่นๆ
Cooling Tower Blade
ปรับแต่งใบพัดหอคอยทำความเย็นเพื่อลดพลังงาน
• ประหยัดพลังงานไฟฟ้ากว่า 25%
• เพิ่มประสิทธิภาพการทำความเย็นของระบบ Cooling Tower ในด้านของกำลังลม
• ยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์และระบบส่งกำลัง
• มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
• น้ำหนักเบา ลดภาระของมอเตอร์ไฟฟ้า
• อายุการใช้งานยาวนานกว่า
• ลดการเกิดเสียงที่เกิดจากใบพัด
ระบบ Cooling Tower นิยมใช้กันอย่างแพร่งหลายเพื่อเป็นหอคอยระบายความร้อนให้ระบบทำความเย็นหรือเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม และมีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดอุตสาหกรรมในการใช้งาน และด้วยเนื่องจาก Cooling Tower มีหน้าที่ระบายความร้อนโดยใช้ระบบม่านน้ำ โดยมีพัดลมและมอเตอร์ช่วยในการทำงาน ทำให้ Cooling Tower นับเป็น Inductive Load รูปแบบหนึ่งที่มีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องตลอดเวลา
APPLICATIONS
Cooling Tower
การเลือกใช้หอคอยทำความเย็นที่เหมาะสม ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการทำความเย็น ระบบ Cooling Tower รุ่นเก่าที่มีอายุการทำงานมายาวนาน มีอัตราการสึกหรอของอุปกรณ์และมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงเมื่อเทียบกับรุ่นใหม่ แต่ถ้าจะต้องเปลี่ยนหอคอยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้องแลกมาด้วยการลงทุนเครื่องจักรใหม่ด้วยเช่นกันซึ่งมีราคาสูง
แต่เราสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพทางไฟฟ้าและเพิ่มอัตราการทำความเร็วลม (Air Flow) ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์แค่บางชนิดเพื่อเพิ่มอัตราการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพิ่มความเร็วลม ลดการสึกหรอของอุปกรณ์และประหยัดต้นทุนในธุรกิจ
เปลี่ยนใบพัดสามารถลดพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 20%
โดยทั่วไปแล้วใบพัดของระบบ Cooling Tower จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ ใบพัดอลูมิเนียม (Aluminums) , ใบพัดพลาสติก (Polyester) ซึ่งใบพัดทั้งสองแบบจะเป็นมาตรฐานออกจากโรงงานของผู้ผลิต และจะมีข้อจำกัดในการออกแบบและการผลิต เช่น ใบพัดอลูมิเนียม ไม่สามารถทำองศาใบที่ดีที่สุดได้ เนื่องจากการขึ้นรูปทำได้โดยการปั๊มโลหะจะมีมุมวิกฤติที่จำกัดในการขึ้นงาน หรือใบพัดพลาสติกมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของใบพัดเร็ว และเกิดการซ่อมบำรุงบ่อยครั้งเป็นต้น
รูปแบบการ Design ในการออกแบบใบพัดแบบ Airfoil เป็นเทคโนโลยีเดียวกับการออกแบบของปีกเครื่องบิน และใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ โดยความเร็วลมระหว่างบนและใต้ปีก จะมีความเร็วไม่เท่ากันเมื่อเกิดแรงประทะ ของลมจะทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นทำให้ภาระของต้นกำลังลดลง หากออกแบบอย่างสมบูรณ์ สภาวะการทำงานนี้จะสามารถลดโหลดลงไปได้เป็นอย่างมาก และด้วยเทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุที่ก้าวหน้า ณ ปัจจุบันสามารถผลิตใบพัดที่ทำมาจากวัสดุ ไฟเบอร์กลาสผสม (FRP – Fiber Reinforced Plastic) และออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ปริมาณลมที่เหมาะสมและประหยัดพลังงาน มาแก้ไขปัญหาในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 20% และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี
ทำไมต้องเปลี่ยนใบพัด Cooling Tower เป็นแบบ FRP ?
การเปลี่ยนใบพัดของระบบหอทำความเย็น นอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพของพัดลมแล้วยังมีข้อดีดังนี้
- ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากใบพัดมีการออกแบบใหม่โดยใช้หลักการของอากาศพลศาสตร์อย่างถูกต้อง
- อายุการใช้งานยาวนาน อัตราการกัดกร่อนน้อยกว่าใบพัดประเภทอื่น เพราะวัสดุมีความต้านทานกรด – ด่างสูง
- การผุกร่อนน้อยมาก เมื่อเทียบกับใบพัดแบบปกติ เช่น ใบพัดอลูมิเนียม
- เสียงลดลง เป็นผลพลอยได้จากการออกแบบ Angle ที่ทำมุมให้เกิดแรงเสียดทานน้อย (Friction)
- น้ำหนักเบากว่าใบพัดอลูมิเนียม 2-3 เท่า ทำให้สามารถยืดอายุของ Components อื่นได้ อาทิ มอเตอร์เกียร์ , แบริ่ง และสายพาน เป็นต้น
- ลงทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับการซื้อ Cooling Tower ตัวใหม่
Cooling Tower Blade
ปรับแต่งใบพัดหอคอยทำความเย็นเพื่อลดพลังงาน
• ประหยัดพลังงานไฟฟ้ากว่า 25%
• เพิ่มประสิทธิภาพการทำความเย็นของระบบ Cooling Tower ในด้านของกำลังลม
• ยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์และระบบส่งกำลัง
• มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง
• น้ำหนักเบา ลดภาระของมอเตอร์ไฟฟ้า
• อายุการใช้งานยาวนานกว่า
• ลดการเกิดเสียงที่เกิดจากใบพัด
ระบบ Cooling Tower นิยมใช้กันอย่างแพร่งหลายเพื่อเป็นหอคอยระบายความร้อนให้ระบบทำความเย็นหรือเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม และมีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดอุตสาหกรรมในการใช้งาน และด้วยเนื่องจาก Cooling Tower มีหน้าที่ระบายความร้อนโดยใช้ระบบม่านน้ำ โดยมีพัดลมและมอเตอร์ช่วยในการทำงาน ทำให้ Cooling Tower นับเป็น Inductive Load รูปแบบหนึ่งที่มีแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าต่อเนื่องตลอดเวลา
APPLICATIONS
Cooling Tower
การเลือกใช้หอคอยทำความเย็นที่เหมาะสม ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิภาพโดยรวมของการทำความเย็น ระบบ Cooling Tower รุ่นเก่าที่มีอายุการทำงานมายาวนาน มีอัตราการสึกหรอของอุปกรณ์และมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงเมื่อเทียบกับรุ่นใหม่ แต่ถ้าจะต้องเปลี่ยนหอคอยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้องแลกมาด้วยการลงทุนเครื่องจักรใหม่ด้วยเช่นกันซึ่งมีราคาสูง
แต่เราสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพทางไฟฟ้าและเพิ่มอัตราการทำความเร็วลม (Air Flow) ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์แค่บางชนิดเพื่อเพิ่มอัตราการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพิ่มความเร็วลม ลดการสึกหรอของอุปกรณ์และประหยัดต้นทุนในธุรกิจ
เปลี่ยนใบพัดสามารถลดพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 20%
โดยทั่วไปแล้วใบพัดของระบบ Cooling Tower จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ ใบพัดอลูมิเนียม (Aluminums) , ใบพัดพลาสติก (Polyester) ซึ่งใบพัดทั้งสองแบบจะเป็นมาตรฐานออกจากโรงงานของผู้ผลิต และจะมีข้อจำกัดในการออกแบบและการผลิต เช่น ใบพัดอลูมิเนียม ไม่สามารถทำองศาใบที่ดีที่สุดได้ เนื่องจากการขึ้นรูปทำได้โดยการปั๊มโลหะจะมีมุมวิกฤติที่จำกัดในการขึ้นงาน หรือใบพัดพลาสติกมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของใบพัดเร็ว และเกิดการซ่อมบำรุงบ่อยครั้งเป็นต้น
รูปแบบการ Design ในการออกแบบใบพัดแบบ Airfoil เป็นเทคโนโลยีเดียวกับการออกแบบของปีกเครื่องบิน และใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ โดยความเร็วลมระหว่างบนและใต้ปีก จะมีความเร็วไม่เท่ากันเมื่อเกิดแรงประทะ ของลมจะทำให้เกิดแรงยกตัวขึ้นทำให้ภาระของต้นกำลังลดลง หากออกแบบอย่างสมบูรณ์ สภาวะการทำงานนี้จะสามารถลดโหลดลงไปได้เป็นอย่างมาก และด้วยเทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุที่ก้าวหน้า ณ ปัจจุบันสามารถผลิตใบพัดที่ทำมาจากวัสดุ ไฟเบอร์กลาสผสม (FRP – Fiber Reinforced Plastic) และออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ปริมาณลมที่เหมาะสมและประหยัดพลังงาน มาแก้ไขปัญหาในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 20% และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี
ทำไมต้องเปลี่ยนใบพัด Cooling Tower เป็นแบบ FRP ?
การเปลี่ยนใบพัดของระบบหอทำความเย็น นอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพของพัดลมแล้วยังมีข้อดีดังนี้
- ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากใบพัดมีการออกแบบใหม่โดยใช้หลักการของอากาศพลศาสตร์อย่างถูกต้อง
- อายุการใช้งานยาวนาน อัตราการกัดกร่อนน้อยกว่าใบพัดประเภทอื่น เพราะวัสดุมีความต้านทานกรด – ด่างสูง
- การผุกร่อนน้อยมาก เมื่อเทียบกับใบพัดแบบปกติ เช่น ใบพัดอลูมิเนียม
- เสียงลดลง เป็นผลพลอยได้จากการออกแบบ Angle ที่ทำมุมให้เกิดแรงเสียดทานน้อย (Friction)
- น้ำหนักเบากว่าใบพัดอลูมิเนียม 2-3 เท่า ทำให้สามารถยืดอายุของ Components อื่นได้ อาทิ มอเตอร์เกียร์ , แบริ่ง และสายพาน เป็นต้น
- ลงทุนต่ำ ประสิทธิภาพสูง เมื่อเทียบกับการซื้อ Cooling Tower ตัวใหม่