Capacitorฺ Bank จำเป็นหรือไม่ ในโรงงานอุตสาหกรรม ?
คาปาซิเตอร์ แบ็งค์ (Capacitor Bank) หรือ แคปแบ็งค์ ที่เรียกกันติดปากในภาษาช่างอุตสาหกรรมนั้น เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า
ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรม เพราะมันมีหน้าที่สำคัญคือการปรับค่า Power Factor ในระบบให้มีค่าสูงขึ้นและลดการสูญเสียกำลังงานในระบบไฟฟ้า
โดยใช้วิธีการเก็บประจุและคายประจุอิเล็กตรอนเข้าสู่ระบบ
แล้วมันมีความจำเป็นแค่ไหน ต้องติดตั้งมั้ย หรือไม่ติดตั้งก็ได้ ?
ต้องบอกว่าทั้งจำเป็นและไม่จำเป็น และเราสามารถแยกประโยชน์ของ Capacitor bank ออกได้
ตอบคำถามแรก กรณีจำเป็นต้องมี Capbank ก็ในกรณีที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและใหญ่ ที่มีอัตราการใช้ไฟฟ้ามาก ค่า Power Factor อาจจะมีกำลังต่ำทำให้การไฟฟ้าต้องชดเชยแรงดันไฟฟ้าเข้าสู่โรงงานทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มาในรูปแบบของค่า FT ซึ่งเป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า
การที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ มีผลทำให้ระบบการจ่ายไฟฟ้ามีคุณภาพต่ำไปด้วย เนื่องจาก ประโยชน์ที่จะได้รับจากกำลังไฟฟ้าจริง (กิโลวัตต์) ในระบบไฟฟ้าจะต่ำกว่า ซึ่งทำให้การไฟฟ้าจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของอุปกรณ์จำหน่ายและอุปกรณ์ส่งไฟฟ้าให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณพลังไฟฟ้าส่วนที่ไม่จำเป็นหรือ รีแอคตีฟ (กิโลวาร์) ที่เกิดขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้สูงขึ้น อีกทั้งการมี Power Factor ที่สูงค่าเข้าใกล้เคียง 1 ยังเกิดผลประโยชน์ต่อเราผู้ประกอบดังนี้
1. ประหยัดค่าพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ (Kvar) ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ที่ต่ำกว่า 0.85 จะต้องเสียค่าปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ในอัตรา 56.07 บาท/กิโลวาร์ ซึ่งเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปรับค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้มีค่ามากกว่า 0.85 จะทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าในส่วนนี้ลง
2.ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถประหยัดการลงทุนในการขยายระบบไฟฟ้าลงได้ เนื่องจากเมื่อมีการปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าแล้วจะเป็นการเพิ่มความสามารถของสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าในการรับโหลด ได้เพิ่มขึ้น
3. เมื่อมีการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าแล้ว จะเป็นการลดกำลังไฟฟ้าสูญเสียในสายไฟฟ้าและหม้อแปลง อีกทั้งแรงดันไฟฟ้าจะดีขึ้น ซึ่งผลข้างต้นจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ และยังเป็นการเพิ่อประสิทธิภาพของการจ่ายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าได้
หากกิจการของท่านมีค่า Power Factor ไม่ดีหรือต่ำมาก อุปกรณ์ ” Capacitor Bank ” จำเป็นอย่างมากต่อกิจการของท่าน เพราะนอกจากจะสามารถปรับปรุงคุณภาพกระแสไฟฟ้าได้แล้ว ยังช่วยป้องกันค่าปรับทางไฟฟ้าได้อีกด้วย เป็นการลดต้นทุน 2 ทาง ส่งผลให้สามารถใช้งานไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึัน
กรณีไม่จำเป็น ก็คือถ้าค่า Power Factor ในกิจการของท่านมีการใช้กำลังไฟฟ้าไม่สูง และค่า PF ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่จำเป็นต้องทำการปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจจะไม่จำเป็นหรือไม่ได้มีข้อบังคับในการติดตั้ง เพราะจะทำให้การลงทุนในธุรกิจอาจจะสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
ทั้งนี้ทั้งน้้นอุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าก็ยังเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ประกอบควรพิจารณาอยู่ดีในสภาวะการทำงานจริง แม้ว่าจะไม่ได้มีข้อบังคับในการใช้งาน
การใช้คาปาซิเตอร์ในการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังนั้นมีข้อได้เปรียบมากกว่าวิธีการอื่นและยังเป็นวิธีที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก และมีการสูญเสียประจุไฟฟ้าในตัวคาปาซิเตอร์น้อย
ราคาถูก เมื่อเทียบกับการติดตั้งระบบอื่น ๆ , การดูแลรักษาต่ำไม่เป็นภาระ ,มีการติดตั้งง่าย , น้ำหนักเบา เป็นต้น
แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อด้อยที่พึงพิจารณา เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าวมีอายุการใช้งานสั้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของโหลดอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีการ On-Off อยู่ตลอดซึ่งอาทำให้เกิดไฟกระชากในระบบได้ , ถ้าระดับแรงดันไฟฟ้าในระบบเพิ่มหรือเกิด Over Voltage จะทำอุปกรณ์เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากจึงต้องพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับธุรกิจนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรหนึ่งองค์กรจะหามาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า ถือเป็นเรื่องดี และเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรควรปฏิบัติ เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์กับองค์กรแล้วยังส่งผลในการลดภาระของประเทศชาติทางตรงอีกด้วย